ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

DNS Server ฟรี! จากเมืองนอก ทางเลือกที่ดีกว่าของเดิมเป็นไหนๆ


DNS Server ฟรี! จากเมืองนอก ทางเลือกที่ดีกว่าของเดิมเป็นไหนๆ

คงจะเคยเจอเวลาที่เปิดเว็บไม่ได้ทั้งที่ต่อเน็ตอยู่ แต่ ping IP ออกอินเทอร์เน็ตได้ อารมณ์ว่าติดต่อเซิร์ฟเวอร์ที่ Resolve URL เป็น IP ไม่ได้บ่อยๆ (เปิดเว็บไม่ได้แต่ใช้บริการอย่างอื่นที่ไม่ต้องแปลงชื่อเป็นไอพี เช่น เล่นไลน์ได้) ซึ่งปกติผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็มักส่งหรือให้เราตั้งค่าที่อยู่ไอพีของเซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นของเค้าทั้งหมด ทั้ง Primary และ Secondary ซึ่งเวลาล่มก็มักล่มพร้อมๆ กัน (เพราะมาจากที่เดียวกัน)
นอกจากนี้เวลาอยู่ในวงแลนที่เราท์เตอร์จ่าย DHCP มาทั้งเลขไอพีเครื่องโฮส, เกตเวย์, และ DNS Server (ที่มักให้ชี้ไปที่ไอพีของเราเตอร์แทน) เช่น เวลาใช้งานในออฟฟิศหรือบ้านที่คนเยอะๆ เวลา DNS ของผู้ให้บริการล่ม หรือแม้แต่กรณีเราท์เตอร์เกตเวย์รวนจนไม่สามารถติดต่อเซิร์ฟเวอร์ DNS ได้ ก็กลายเป็นว่าเราท่องเว็บไม่ได้ซะงั้น ซึ่งถ้าคนที่พอรู้เรื่องหน่อยก็จะขยันเข้าไปตั้งค่าไอพี DNS เอง เช่น ตั้ง Primary เป็นของ ISP แต่ตั้ง Secondary เป็นไอพียอดฮิตจากกูเกิ้ลอย่าง 8.8.8.8 เพื่อสำรองไว้ เป็นต้น
จริงๆ เหตุผลที่เราควรเลือกหรือเปลี่ยนไปใช้เซิร์ฟเวอร์DNS อื่นนอกจากอันที่ผู้ให้บริการส่งมาให้ใช้นั้น นอกจากเรื่องสำรองการทำงานแล้ว ยังมีเหตุผลเรื่องของความเป็นส่วนตัว (ที่ไม่อยากให้ผู้ให้บริการในประเทศเก็บประวัติการเปิดเว็บของคุณ) การเข้าดูเว็บที่ทางการสั่งบล็อกไว้ และความเร็วในการเชื่อมต่อ หรือแม้แต่ฟีเจอร์อื่นที่คุณคาดไม่ถึงอย่างการบล็อกโฆษณาหรือเว็บอันตรายอีกด้วย อย่าไปนึกว่าทำไมต้องหันไปใช้ของเมืองนอกแทนของไทย มันไม่ช้ากว่าเหรอ เพราะบางทีเซิร์ฟเวอร์เจ้าดังกล่าวอาจจะตั้งอยู่ใกล้ๆ บ้านคุณ หรือใช้การเชื่อมต่อที่รวดเร็วและเสถียรกว่าก็ได้ตัวอย่างไอพีเซิร์ฟเวอร์DNS ที่น่าสนใจและ “ฟรี” มีดังนี้
• GOOGLE: 8.8.8.8 และ 8.8.8.44
ไอพี DNS ยอดนิยมมาเป็นสิบๆ ปี ซึ่งกูเกิ้ลโฆษณามาตลอดถึงข้อดี 3 ประการได้แก่ การท่องเว็บที่รวดเร็วขึ้น, มีความปลอดภัยมากขึ้น, และให้การแสดงผลที่แม่นยำโดยไม่ถูกรีไดเร็กต์แบบผิดๆ และด้วยการที่กูเกิ้ลมีดาต้าเซ็นเตอร์กระจายตามตำแหน่งต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกมากที่สุดแล้ว ทำให้เซิร์ฟเวอร์DNS นี้เป็นทางเลือกที่ดีมาก และให้ความเร็วในการเชื่อมต่อสูงที่สุดไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งไหนของโลกก็ตาม
• QUAD9: 9.9.9.9 และ 149.112.112.112
เป็น DNS Server ที่เน้นปกป้องเครื่องผู้ใช้จากอันตรายทางไซเบอร์ด้วยการบล็อกเว็บไซต์อันตรายให้แบบอัตโนมัติ แต่เป็นที่สังเกตว่าเป็นการบล็อกแค่โดเมนเท่านั้น ไม่ได้คัดกรองลึกไปถึงเนื้อหาของเว็บแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีบริการ DNS แบบไม่ปิดกั้นอะไรเลยด้วย (9.9.9.10)
• OPENDNS: 208.67.222.222 และ 208.67.220.220
อ้างว่าตนเองมีความเสถียรถึง 100% โดยมีผู้ใช้กว่า 90 ล้านรายทั่วโลก อีกทั้งยังมีหน้าเว็บตั้งค่าที่เรียกว่า OpenDNS Home สำหรับตั้งปรับแต่งการคัดกรองได้ยืดหยุ่นตามต้องการ และชุด DNS สำหรับผู้ปกครองไว้กรองเว็บสำหรับผู้ใหญ่ที่เรียกว่า OpenDNS FamilyShieldด้วย (208.67.222.123, 208.67.220.123)
• CLOUDFLARE: 1.1.1.1 และ1.0.0.1
โฆษณาว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์DNS ที่เร็วที่สุดในโลก และไม่มีการบันทึก Log ไอพีผู้ใช้, ไม่ขายข้อมูลการใช้งานให้คนอื่น, และไม่มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์กับการโฆษณาแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังทำแอพชื่อ 1.1.1.1 สำหรับทั้งแอนดรอยด์และ iOS เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตั้ง DNS บนอุปกรณ์พกพาด้วย
• CLEANBROWSING: 185.228.168.9 และ 185.228.169.9
เจ้านี้มีทางเลือกDNS หลายแบบ อย่างไอพีชุดข้างต้นเป็นแบบคัดกรองด้านความปลอดภัยพื้นฐานที่ช่วยสกัดกั้นมัลแวร์และเว็บฟิชชิ่ง นอกจากนี้ยังมี DNS แบบกรอง 18+ ออก (185.228.168.10) และแบบที่กั้นทุกอย่างที่ส่อไปในทางไม่ดี เช่น พร็อกซี่, วีพีเอ็น, และเว็บอย่างว่า (185.228.168.168) ด้วย
• VERISIGN: 64.6.64.6 และ 64.6.65.6
โฆษณาว่ามีความเสถียรและปลอดภัยสูง ประกันอัพไทม์100% ชนิดที่ไม่มีวันล่ม และรักษาความเป็นส่วนตัวยิ่งชีวิต ด้วยคำโปรยที่ว่า “เราจะไม่ขายข้อมูลการใช้งานของคุณไปยังเธิร์ดปาร์ตี้ หรือรีไดเรกต์คุณไปยังเว็บโฆษณาอื่น” โดยมีหน้าเว็บสำหรับตรวจสอบข้อมูลแคช DNS ของตัวเอง พร้อมออพชั่นในการล้างประวัติข้อมูลการท่องเว็บของตัวเองบนเซิร์ฟเวอร์ให้เกลี้ยง
• ALTERNATE DNS: 198.101.242.72 และ23.253.163.53
เป็นเซิร์ฟเวอร์DNS ที่ช่วยบล็อกโฆษณาไม่ให้ส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายของคุณ นอกจากนี้ยังมีออพชั่นที่ไว้บล็อกเนื้อหา 18+ ด้วย แต่คิดค่าบริการเดือนละ 8 เหรียญสหรัฐฯ
• ADGUARD DNS: 176.103.130.130 และ 176.103.130.131
มีฟีเจอร์พิเศษในการบล็อกโฆษณาที่แสดงในเกม, วิดีโอ, แอพ, และเว็บไซต์ โดยเฉพาะไอพีอันแรกที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ “ดีฟอลต์” ที่นอกจากโฆษณาแล้วยังสามารถบล็อกเว็บที่มีมัลแวร์และฟิชชิ่งได้ด้วยนอกจากสองไอพีดังกล่าว ยังมีไอพี DNS แบบ “Family Protection”สำหรับผู้ปกครองที่ยังไม่อยากให้บุตรหลานดูเว็บอย่างว่า เป็นต้น

ส่วนตารางล่างด้านล่างนี้ก็เก็บตกมาให้อีกหน่อย เผื่อเป็นทางเลือกให้ใช้กัน
Free & Public DNS Server List
Provider Primary DNS Secondary DNS
CenturyLink (Level3) 209.244.0.3 209.244.0.4
Verisign 64.6.64.6 64.6.65.6
Google 8.8.8.8 8.8.4.4
Quad9 9.9.9.9 149.112.112.112
DNS.WATCH 84.200.69.80 84.200.70.40
Comodo Secure DNS 8.26.56.26 8.20.247.20
OpenDNS Home 208.67.222.222 208.67.220.220
GreenTeamDNS 81.218.119.11 209.88.198.133
SafeDNS 195.46.39.39 195.46.39.40
OpenNIC 198.206.14.241 172.98.193.42
SmartViper 208.76.50.50 208.76.51.51
Dyn 216.146.35.35 216.146.36.36
FreeDNS 45.33.97.5 37.235.1.177
Alternate DNS 198.101.242.72 23.253.163.53
Yandex.DNS 77.88.8.8 77.88.8.1
UncensoredDNS 91.239.100.100 89.233.43.71
Hurricane Electric 74.82.42.42
puntCAT 109.69.8.51
Neustar 156.154.70.1 156.154.71.1
Cloudflare 1.1.1.1 1.0.0.1
Fourth Estate 45.77.165.194
CleanBrowsing 185.228.168.9 185.228.169.9
Tenta 99.192.182.100 99.192.182.101
AdGuard DNS 176.103.130.130 176.103.130.131


ที่มา : Lifewire
Credit: https://www.enterpriseitpro.net/free-and-public-dns-servers-2626062/?fbclid=IwAR28VRePzE382eXQ4ppQpyeRpMI8FulGry4yKNkm3GlvIZhr3KZCLKRfNoI

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีใช้ Google Form ส่งข้อความเข้า LINE Notify

วิธีใช้ Google Form ส่งข้อความเข้า LINE Notify           ขั้นตอนต่อไปนี้จะข้ามส่วนของรายละเอียดบางอย่างไป ซึ่งก่อนจะทำตรงนี้ควรจะรู้แล้วว่า LINE Notify ใช้ทำอะไร และ Access Token จะเอามาจากไหน แต่จะพยายามอธิบายให้ครอบคลุมที่สุดก็แล้วกัน Update: 2019/06/10 ในท้ายบทความได้เพิ่มคำอธิบายเรื่องการส่งข้อมูลหลายกล่องข้อมูล (คอลั่ม) พร้อมกับ code ที่วนลูปข้อมูลทุกกล่อง เพื่อความสะดวกในการส่งข้อมูลในรูปแบบเดิม สร้าง Google Form วิธีสร้างก็ง่ายแสนง่าย เข้าไปที่  https://docs.google.com/forms  จากนั้น คลิกตรงเครื่องหมาย + ตามภาพ จะได้ form หน้าตาแบบนี้มา แก้ไขตามสะดวกเลย ตัวอย่างเอาแบบนี้แล้วกัน จะลองส่งข้อความคลิกที่รูป “ตา” พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ แล้ว กด Submit โลด กลับไปหน้า Form ของเราใน tab แรก มันก็จะมี RESPONSES เข้ามา เมื่อคลิกดูก็จะพบข้อความที่เราเพิ่งพิมพ์ไปเมื่อตะกี้ ใส่ code ใน Script Editor คลิกที่ จุด 3 จุด ด้านขวาบน แล้วเลือก  <> Script Editor จะพบหน้าเปล่าๆ ที่ไม่คุ้นเคย ตรงนี้แหละที่เราจะมาใส่ code ใ...

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint) คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint) คืออะไร ในภาวะโลกร้อนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งสาเหตุที่สำคัญคงหนึไม่พ้นเกิดจากกิจกรรมต่างของมนุษย์เรานั่นเอง ทั้งจากการใช้พลังงาน การทำลายทรัพยากรธรรมชาติเช่น การตัดไม้ทำลายป่า การขนส่ง และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และในปัจจุบันเราจะพบว่าในหลาย ๆ ประเทศได้มีความตื่นตัวในเรื่องเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น และสิ่งหนึ่งที่ให้ความสนใจก็คือ การที่จะร่วมมือกันผลิตและบริโภคผลิตัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีทั้งการเชิญให้ผู้ผลิตได้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์อีกด้วย คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint, CF) คือ การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ( Greenhouse Gases, GHGs) จากกระบวนการผลิตสินค้าตลอดวัฎจักรชีวิต ( Product Life Cycle) โดยเริ่มตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบนำไปแปรรูป ผลิต จดจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการหลังจากผลิ...

ทำความเข้าใจ LM, NTLM, NTLMv2

ทำความเข้าใจ LM, NTLM, NTLMv2  วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเก็บ password ของ Windows โดยแต่ก่อนจนถึงปัจจุบันก็มีพัฒนาการมาเรื่อยๆครับ ซึ่งจะเริ่มจาก LM (Lan Manager) hash โดย LM นั้นเป็นรูปแบบดั้งเดิมในการเก็บ password ของ Windows ตั้งแต่ยุค 1980 ซึ่งในช่วงนั้นยังมีจำนวน charset ที่ยังจำกัดอยู่(16-bits characters) ซึ่งทำให้การ crack password นั้นทำได้ง่ายมากโดยดึงจาก SAM database บน Windows หรือว่า NTDS บน Domain Controller (Active Directory) ได้เลย โดยขั้นตอนการเปลี่ยน password อยู่ในรูปแบบ LM hash คือ เปลี่ยนอักษรทั้งหมดเป็นตัวใหญ่ หากตัวอักษรไม่ครบ 14 ตัวอักษรก็จะเติมตัวอักษรทั้งหมดให้เต็มด้วย NULL characters แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 ตัวอักษร สร้าง DES key จาก character 7 ตัวทั้ง 2 กลุ่ม ก็จะได้ DES key 2 ชุด (ชุดละ 64 bit) นำ DES key ไปเข้ารหัส static string “KGS!@#$%” ด้วย DES (ECB) นำ encrypted strings ทั้ง 2 อันมาต่อกัน ก็จะได้เป็น LM Hash เช่น สมมติ password เป็น password password => password000000 PASSWORD000000 PASSWOR...