ตัวเลขทั้ง 13 ชนิดที่ควรท่องให้ขึ้นใจ เพื่อใช้ทำมาหากินด้านเน็ตเวิร์ก
ระบบคอมพิวเตอร์มีรากฐานมาจากตัวเลข ตั้งแต่เลขฐานสองที่มีแค่ 0 กับ 1 ดังนั้นแม้เทคโนโลยีจะถูกพัฒนาก้าวไกลซับซ้อนมากขึ้นถึงยุคปัจจุบันแล้ว แต่คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้ทักษะด้านไอทีเป็นหลักอยู่ดี
โดยเฉพาะงานในวงการเน็ตเวิร์กที่มักมีชุดตัวเลขที่ท่องจำขึ้นใจเนื่องจากใช้งานบ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นตระกูลไอพี 192.168.x.x, 255.255.255.0 หรือชุดตัวเลขเวลาแบ่งซับเน็ตเป็นต้น ดังนั้นลองมาดูกันว่าเมจิกนัมเบอร์ที่มืออาชีพจำขึ้นใจนั้นมีอะไรกันบ้าง• 1, 6, 11
เป็นเลขประจำช่องสัญญาณหรือแชนแนลของเครือข่าย Wi-Fi ที่ปกติมีให้เลือกตั้งแต่ 1 – 11 (หรือถึง 14 สำหรับมาตรฐานใหม่ๆ) ซึ่งแน่นอนว่าเราควรเลือกช่องสัญญาณของแต่ละ AP ให้ซ้อนทับหรือรบกวนกันน้อยที่สุด จึงเป็นที่มาของช่องสัญญาณยอดนิยมอย่าง 1, 6, และ 11 ที่ศึกษากันแล้วว่าทับกันน้อยที่สุด ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด• 2.4 กับ 5
เป็นเลขบอกย่านความถี่ของเครือข่าย Wi-Fi ที่แต่ละมาตรฐานที่มีการใช้งานอยู่ปัจจุบันเลือกใช้อยู่แค่ 2 ย่านความถี่ได้แก่ 5GHz และ 2.4GHz แม้อุปกรณ์ส่วนใหญ่จะรองรับทั้งสองย่านความถี่ (Dual Band) ก็ตาม แต่ก็สำคัญมากที่ต้องพิจารณาเลือกใช้มาตรฐานหรือย่านความถี่ที่ตรงกันระหว่างตัวรับและตัวส่งเพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทั่วถึงกันหมด• 5-4-3-2-1
เป็นสูตรพื้นฐานของการออกแบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ตสมัยดึกดำบรรพ์ที่เรียนกันมาตั้งแต่ยุคพระเจ้าเหาถึงปัจจุบัน ที่กล่าวถึงจำนวนโหนดสูงสุดของเครือข่ายในยุคที่ไม่รู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยแก้ปัญหาข้อมูลชนกันอย่าง “สวิตช์”• 10 (100 และ 1000)
เป็นอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดตามทฤษฎีของอีเธอร์เน็ตแต่ละมาตรฐาน อันได้แก่ Ethernet ดั้งเดิม (10 Mbps), Fast Ethernet (100 Mbps), และ Gigabit Ethernet (1000 Mbps)• 11 และ 54
คืออัตราเร็วการรับส่งข้อมูลมากที่สุดของ WiFiสมัยก่อน อันได้แก่ 802.11b ที่ทำความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps และ 802.11g ที่ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 54 Mbps ซึ่งเทคโนโลยีมาตรฐานWiFiใหม่ในปัจจุบันสามารถทำความเร็วได้มากถึง 150 Mbps หรือมากกว่าได้แล้ว• 13
ไม่ใช่ลักกี้นัมเบอร์หรือเลขแห่งความซวยแต่อย่างใด แต่มาจาก 13 โซนเซิร์ฟเวอร์ DNS ต้นกำเนิด (Root DNS Server) ที่กระจายอยู่ทั่วโลกสำหรับให้เซิร์ฟเวอร์ดีเอ็นเอสย่อยๆ ที่อยู่ใกล้เคียงใช้อ้างอิงข้อมูลมาให้บริการลูกค้าของตนเองอีกทอดหนึ่ง• 80 (และ 8080)
ทุกคนน่าจะคุ้นกับเลขพอร์ต 80 ซึ่งเป็นพอร์ตประจำตัวของโปรโตคอล HTTP ที่ใช้ท่องเว็บไซต์เป็นอย่างดี ซึ่งตามหลักของระบบ TCP/IP แล้ว จะใช้ตัวเลขพอร์ตในการบอกระบบว่าสื่อสารกับโปรโตคอลหรือแอพพลิเคชั่นไหน ส่วนพอร์ต 8080 นั้นเป็นพอร์ตทางเลือกสำหรับระบบบนลีนุกซ์หรือยูนิกซ์ที่มีข้อจำกัดในการใช้เลขพอร์ตต่ำๆ• 127.0.0.1
เป็นเลขไอพี Loopback หรือไว้ยิงข้อมูลกลับมาหาตัวเองเพื่อทดสอบการทำงานของโปรโตคอลไอพีของอแดปเตอร์ปัจจุบัน ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการทดสอบอุปกรณ์และแอพพลิเคชั่นบนเครือข่าย ตัวอย่างเช่น ถ้าจะสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์หรือเปิดเว็บบนเครื่องตัวเอง ก็จะชี้ไปที่ http://127.0.0.1 เป็นต้น• 192.168.1.1
เป็นหนึ่งในเลขไอพีแบบไพรเวทหรือเลขไอพีที่กำหนดให้ใช้สำหรับเครือข่ายภายใน หรือแลนได้ และเลขที่ลงท้าย .1.1 นี้ก็นับเป็นไอพียอดนิยมที่มักใช้เป็นไอพีโดยดีฟอลต์สำหรับเกตเวย์ขาแลนของเราท์เตอร์ตามบ้านทั่วไปด้วย (ซึ่งก็แนะนำให้ควรเปลี่ยนวงเพื่อความปลอดภัยเสมอ) นอกจาก 192.168.1.1 แล้ว เลขไอพีดีฟอลต์ยอดนิยมอื่นได้แก่ 192.168.0.1 และ 192.168.2.1• 255 (และ FF)
เป็นเลขฐานสิบที่แปลงมาจากเลขฐานสองที่เป็นเลข 1 เต็มทั้งไบต์ (หรือทั้ง 8 บิท) ซึ่งคนที่พอเป็นคณิตศาสตร์หรือคร่ำหวอดกับการคำนวณไอพีน่าจะไม่งง และมักเป็นเลขยอดนิยมเวลากำหนดซับเน็ตมาร์ก เนื่องจากต้องมาส์กบิตเลข 1 ตั้งแต่ด้านหน้าไล่มาทางด้านซ้ายเสมอ เช่น 255.255.255.0 และเมื่อแปลงเป็นเลขฐาน 16 สำหรับที่อยู่ไอพีแบบ IPv6 ก็จะแปลง 255 ได้เป็น FF สำหรับใช้งานลักษณะเดียวกัน• 500
เลขกำกับประเภทความผิดพลาดหรือ Error ของการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ยอดนิยม ซึ่ง Error 500 คือ Internal Server Error หรือความผิดพลาดที่เกิดบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จากการที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถตอบสนองคำร้องขอของไคลเอนต์หรือผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การรันโค้ดเพื่อแสดงผลเกิดปัญหา (ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาอย่างเช่น โค้ดผิดพลาด หรือเชื่อมต่อฐานข้อมูลไม่ได้ เป็นต้น)• 802.11
ชุดเลขที่ใช้เป็นชื่อมาตรฐาน Wi-Fi ของ IEEE โดยแยกมาตรฐานด้วยตัวอักษรกำกับด้านหลัง เช่น 802.11a, 802.11b, 802.11g, 802.11n, 802.11ac แต่มาตรฐานใหม่กว่านี้จะหันมาใช้ชื่อที่ดูอินเตอร์และจำง่ายขึ้นแทน เช่น WiFi 6 (จะใช้แทน 802.11ax)• 49152 (ไปจนถึง 65535)
เป็นเลขพอร์ต TCP/UDP ที่ IANA เปิดให้ผู้ใช้กำหนดใช้งานเองโดยอิสระ ไม่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานว่าให้แทนโปรโตคอลใดอย่างเจาะจง เรียกว่าพอร์ตไดนามิกที่มา : Lifewire
https://www.enterpriseitpro.net/13-number-network/?fbclid=IwAR1yhc_wtEI1sfdQrrk2PefPXHE5fKlQ9w-89Z0ylrSVnN9mx-Xrhzod6_k
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น