ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)



คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คืออะไร
ในภาวะโลกร้อนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งสาเหตุที่สำคัญคงหนึไม่พ้นเกิดจากกิจกรรมต่างของมนุษย์เรานั่นเอง ทั้งจากการใช้พลังงาน การทำลายทรัพยากรธรรมชาติเช่น การตัดไม้ทำลายป่า การขนส่ง และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และในปัจจุบันเราจะพบว่าในหลาย ๆ ประเทศได้มีความตื่นตัวในเรื่องเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น และสิ่งหนึ่งที่ให้ความสนใจก็คือ การที่จะร่วมมือกันผลิตและบริโภคผลิตัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีทั้งการเชิญให้ผู้ผลิตได้เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ได้รับเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเชิญชวนให้ผู้บริโภคหันมาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์อีกด้วย

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint, CF) คือ การวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases, GHGs) จากกระบวนการผลิตสินค้าตลอดวัฎจักรชีวิต (Product Life Cycle) โดยเริ่มตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบนำไปแปรรูป ผลิต จดจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการหลังจากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ หมดสภาพการใช้งานแล้ว โดยแสดงข้อมูลไว้บนฉลากคาร์บอน (Carbon Labeling) ติดฉลากบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภั.ณฑ์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าใด คาร์บอนฟุตพริ้นท์นี้ได้ถูกแนะนำขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในช่วงเดือนมีนาคม 2550 ภายใต้การกำกับดูแลของ Carbon Trust
  

ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้มาอย่างไร
ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้จากการวัดหรือการคำนวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ทั้งหมดในหน่วยกิโลกรัมหรือตัน ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (KgCO2 equivalent หรือ tonCO2 equivalent) การวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จะต้องทำการพิจารณาจากกิจกรรม 2 ส่วนหลัก คือ
1. การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (PRIMARY FOOTPRINT) เป็นการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้านั้น ๆ โดยตรง เช่น การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิตและการขนส่งทั้งโดยรถบรรทุก ทางเรือ และทางอากาศ

2. การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อม (SECONDARY FOOTPRINT) เป็นการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้สินค้าตลอดจนการจัดการซากสินค้าหลังการใช้งาน ดังตัวอย่างแสดงค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ของผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดกรอบจากบริษัท Walkers Snacks ซึ่งพบว่ามีจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 80 กรัม โดยในแต่ละขั้นตอนมีจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์แสดงดังภาพ




ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ (CARBON FOOTPRINT LABEL)

การแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์
การแสดงข้อมูลปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์อาจจะมีลักษณะคล้ายกับป้ายบอกจำนวนแคลอรี่และสารอาหารซึ่งมีการจัดทำโดยการติดฉลากบนผลิตภัณฑ์หรือภาชนะบรรจะนั้น หรือเป็นสัญลักษณ์ตามที่หน่วยงาน เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนียได้ทำการออกรูปแบบของฉลากคาร์บอนใน 3 ประเภท ได้แก่
1. ฉลาก LOW-CARBON SEAL ซึ่งเป็นฉลากคาร์บอนประเภทที่ไม่มีจำนวนการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ติด ดั้งนั้นผู้บริโภคจะไม่สามารถทราบได้ถึงจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยในภาคการผลิตสินค้า
2. ฉลาก CARBON SCORE เป็นฉลากคาร์บอนประเทภที่มีจำนวนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ติดไว้บนตัวผลิตัณฑ์ ดังนั้นผู้บริโภคจะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตสินค้าของระหว่างสินค้าแต่ละชนิดหรือชนิดเดียวกันแต่ตราสัญลักษณ์ต่างกันได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตปริมาณน้อยที่สุด
3. ฉลาก CARBON RATING ฉลากคาร์บอนประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายกับฉลากประหยัดพลังงานในสหภาพยุโรป โดยฉลากคาร์บอนประเภทนี้จะแบ่งกลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดาว จาก 1 จนถึง 5 ดาว หากสินค้าใดได้จำนวนดาวมากหมายถึงสินค้าชนิดนั้น ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ในปริมาณมากกว่าสินค้าที่ได้ดาวน้อย
ส่วนในสหภาพยุโรปจะมีการแบ่งกลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดาว จากจำนวน 1 จนถึง 5 ดาว โดยสินค้าที่ได้ดาวมากหมายถึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในปริมาณมากกว่าสินค้าที่ได้ดาวน้อย

ตัวอย่าง ฉลากแสดงข้อมูลคาร์บอนฟุตพรินทร์ (Carbon Footprint Label) ประเทศต่างๆ



สำหรับประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้จัดทำโครงการฉลากคาร์บอนขึ้น โดยมีการแบ่งระดับคล้าย ๆ ฉลากไฟ เบอร์ 5 โดยแบ่งออกเป็น 5 สี 5 เบอร์ ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงในสินค้าแต่ละชนิด คือ
ฉลากคาร์บอนเบอร์ 1 จะมีพื้นฉลากสีแดง เป็นสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้น้อยที่สุด ที่ 10%
ฉลากคาร์บอนเบอร์ 2 สีส้ม ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 20%
ฉลากคาร์บอนเบอร์ 3 สีเหลือง ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 30%
ฉลากคาร์บอนเบอร์ 4 สีน้ำเงิน ลดการปล่อยก๊าซฯ ได้ 40%
ฉลากคาร์บอนเบอร์ 5 มีพื้นสีเขียว เป็นสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด คือ 50%



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีใช้ Google Form ส่งข้อความเข้า LINE Notify

วิธีใช้ Google Form ส่งข้อความเข้า LINE Notify           ขั้นตอนต่อไปนี้จะข้ามส่วนของรายละเอียดบางอย่างไป ซึ่งก่อนจะทำตรงนี้ควรจะรู้แล้วว่า LINE Notify ใช้ทำอะไร และ Access Token จะเอามาจากไหน แต่จะพยายามอธิบายให้ครอบคลุมที่สุดก็แล้วกัน Update: 2019/06/10 ในท้ายบทความได้เพิ่มคำอธิบายเรื่องการส่งข้อมูลหลายกล่องข้อมูล (คอลั่ม) พร้อมกับ code ที่วนลูปข้อมูลทุกกล่อง เพื่อความสะดวกในการส่งข้อมูลในรูปแบบเดิม สร้าง Google Form วิธีสร้างก็ง่ายแสนง่าย เข้าไปที่  https://docs.google.com/forms  จากนั้น คลิกตรงเครื่องหมาย + ตามภาพ จะได้ form หน้าตาแบบนี้มา แก้ไขตามสะดวกเลย ตัวอย่างเอาแบบนี้แล้วกัน จะลองส่งข้อความคลิกที่รูป “ตา” พิมพ์ข้อความอะไรก็ได้ แล้ว กด Submit โลด กลับไปหน้า Form ของเราใน tab แรก มันก็จะมี RESPONSES เข้ามา เมื่อคลิกดูก็จะพบข้อความที่เราเพิ่งพิมพ์ไปเมื่อตะกี้ ใส่ code ใน Script Editor คลิกที่ จุด 3 จุด ด้านขวาบน แล้วเลือก  <> Script Editor จะพบหน้าเปล่าๆ ที่ไม่คุ้นเคย ตรงนี้แหละที่เราจะมาใส่ code ใ...

ทำความเข้าใจ LM, NTLM, NTLMv2

ทำความเข้าใจ LM, NTLM, NTLMv2  วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเก็บ password ของ Windows โดยแต่ก่อนจนถึงปัจจุบันก็มีพัฒนาการมาเรื่อยๆครับ ซึ่งจะเริ่มจาก LM (Lan Manager) hash โดย LM นั้นเป็นรูปแบบดั้งเดิมในการเก็บ password ของ Windows ตั้งแต่ยุค 1980 ซึ่งในช่วงนั้นยังมีจำนวน charset ที่ยังจำกัดอยู่(16-bits characters) ซึ่งทำให้การ crack password นั้นทำได้ง่ายมากโดยดึงจาก SAM database บน Windows หรือว่า NTDS บน Domain Controller (Active Directory) ได้เลย โดยขั้นตอนการเปลี่ยน password อยู่ในรูปแบบ LM hash คือ เปลี่ยนอักษรทั้งหมดเป็นตัวใหญ่ หากตัวอักษรไม่ครบ 14 ตัวอักษรก็จะเติมตัวอักษรทั้งหมดให้เต็มด้วย NULL characters แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 7 ตัวอักษร สร้าง DES key จาก character 7 ตัวทั้ง 2 กลุ่ม ก็จะได้ DES key 2 ชุด (ชุดละ 64 bit) นำ DES key ไปเข้ารหัส static string “KGS!@#$%” ด้วย DES (ECB) นำ encrypted strings ทั้ง 2 อันมาต่อกัน ก็จะได้เป็น LM Hash เช่น สมมติ password เป็น password password => password000000 PASSWORD000000 PASSWOR...